วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาคเรียน

ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้ 
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)


1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์(บิดาแห่งกฎหมายไทย) ทรงให้คำจำกัดความไว้ว่า "กฎหมาย  คือคำลั่งของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย  เมื่อไม่ทำตามธรรมดาต้องมีโทษ" พระองค์ท่านได้รับแนวคิดว่าจาก John Austin นักกฎหมายชาวอังกฤษ ซึ่งอธิบายว่า กฎหมาย คือ คำสั่งของรัฐาธิปัตย์(ผู้มีอำนาจปกครอง)ที่กำหนดหน้าที่(Obligation)ให้บุคคลต่างๆ  ปฎิบัติตามคำสั่ง  คำสั่ง(Command) คือการแสดงเจตนาของรัฐาธิปัตย์(สถาบันที่มีอำนาจอธิปไตย)เพื่อกำหนดมาตรฐานความประพฤติให้กับผู้อยู่ใต้อำนาจของตน (เป็นทฤษฎีที่ยอมรับได้ในสังคมอังกฤษ)
         และอีกท่าน ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้แบ่งกฎหมายออกแบสองอย่างคือ กฎหมายตามเนื้อความ หมายถึง กฎหมายซึ่งบทบัญญัติมีลักษณะเป็นกฎหมายแท้ ได้แก่  ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถุกลงโทษ 
         ท่านสุดท้าย รองศาสตราจารย์ ดร. โภคิน พลกุล  กล่าวว่า กฎหมายคือ กฎเกณฑ์ที่วางระเบียบแห่งการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคม โดยมีสภาพบังคับ(sanction) ของสังคมนั้นๆ
         จากที่กล่าวมาดิฉันจึงสรุปได้ว่ากฎหมาย คือข้อบังคับของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ ควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม หากใครฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด 
         การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ คือ จะต้องมีการบังคับใช้สำหรับประชาชนทุกคน ทุกคนมีความเท่าเทียมกันหมด การบังคับใช้กฎหมายจะต้องไม่เลือกปฏิบัติสำหรับใครคนใดคนหนึ่ง  จะต้องเป็นไปอย่างเท่าเทียมกันทุกคน ไม่ว่าจะรวยหรือจน เพศหญิงหรือชาย ก็เหมือนกันทุกคน

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ เห็นด้วย เพราะ การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพนั้นๆ เพราะใบประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.25546 กำหนดวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา เป็นวิชาชีพควบคุม ผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ที่จัดการศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชนจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา จึงจะมีสิทธิประกอบวิชาชีพได้ในใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและจะเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพ

3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ ดิฉันคิดว่าแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่น จะต้องยึดหลักการจัดการศึกษา ไว้ว่าให้มีการระดมทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำให้มีประโยชน์มากขึ้นและการลงทุนด้านงบประมาณการเงิน และทรัพย์สิน ทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น
         ตัวอย่างเช่น ทำแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น การเรียนรู้แบบปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียง

4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ  รูปแบบการจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ
          1. การศึกษาในระบบ
          2. การศึกษานอกระบบ
          3. การศึกษาตาม
        การศึกษาในระบบ มี 2 ระดับ ประกอบด้วย
          1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องจัดอย่างน้อย 12 ปี รวมถึงการศึกษาปฐมวัยประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
          2. ระดับการศึกษาอุดมศึกษา หรือหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่ำกว่า
ปริญญา และระดับปริญญา

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ การศึกษาภาคบังคับคือ การศึกษาชั้นปี่ที่หนึ่งถึง ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนดพูดง่ายๆคือต้องศึกษาไม่ต่ำกว่า9 ปี ตัวอย่างเช่นมีการประกาศ ให้ผู้ปกครองส่งเด็กที่มีอายุถึงเกณฑ์การศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษาอันนี้เป็นสิ่งสำคัญมากต่อการศึกษาภาคบังคับ ส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ ต้องจัดการศึกษาอย่างน้อย 12 ปี รวมถึงการศึกษาปฐมวัยประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ตัวอย่างเช่น มีการบริหารงานมากขึ้นกว่าการศึกษาภาคบังคับ 
         
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ   มีการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังต่อไปนี้
         1. สำนักงานรัฐมนตรี
         2. สำนักงานปลัดกระทรวง
         3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
         4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
         5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
         6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
 7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครูที่ดี รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูต่อไปในอนาคต

8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ ไม่ผิด เพราะหากบุคลากรผู้นั้นเป็นหนึ่งในกรณียกเว้น ดังนี้
         1. ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
         2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
         3. นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่ง เป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
         4. ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
         5. ผู้ ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
         6. คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
         7. ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
         8. บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
         สรุปถึงเราจะห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ยกเว้นได้ว่าหากผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษาจึงไม่ผิดกฎหมาย

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง 
ตอบ โทษทางวินัยสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ แบบแผนความประพฤติ หรือระเบียบที่กำหนดตามกฎหมาย ถ้าฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษตามกฎหมายดังข้างล่างต่อไปนี้
        โทษทางวินัย มี 5 สถาน คือ
        1. ภาคทัณฑ์
        2. ตัดเงินเดือน
        3. ลดขั้นเงินเดือน
        4. ปลดออก
        5. ไล่ออก

10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
ตอบ  เด็กคือ บุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ หรือไม่บรรลุนิติภาวะ
          “เด็กเร่ร่อน คือ เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองเลี้ยงดูหรือมี แต่ไม่สามารถเลี้ยงดูได้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ ไม่มีที่อยู่อาคัยเป็นหลักเป็นแหล่ง
          เด็กกำพร้าคือ เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดา หรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
          เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก คือ เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจน บิดามารดาหย่าร้าง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัย ต้องทำงานเลี้ยงตนเอง
           “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด คือ เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาทำให้เด็กไปคบกับคนที่ไม่ดีสังคมที่เลวร้ายชักนำไปในทาผิดกฎหมาย
           “ทารุณกรรม คือ เด็กที่ถูกทำร้ายหรือเกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ
          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น