วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2


ให้นักศึกษาอ่าน   รัฐธรรมนูญแห่งราชอานาจักไทย พุทธศักราช 2550 
 แล้วตอบคำถามต่อไปนี้

1.ประเด็นที่น่าสนใจ

ตอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับสูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปี พ.. 2575 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจ ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา แตกต่างจากในอดีตที่ใช้ระบบสภาเดี่ยว รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญและวินิจฉัยข้อขัดแย้งข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใด

ตอบ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญคือ
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย   
            ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา 
            มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่ง และการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ  
            มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อเจ้าหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง

ตอบ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้ มีดังนี้
             1. คณะองคมนตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งประธานองคมนตรีหนึ่งคน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน คณะองคมนตรีรวมไม่เกิน 19 คน 
             2. บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย 
             3. รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนรวม หนึ่งร้อยห้าสิบคน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และมาจากการสรรหาเท่ากับจำนวนรวมข้างต้น หักด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
             บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 
                      - มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
                      - มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
                      - มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง
                 4.กฎหมายจัดให้ผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของบุคคล ซึ่งเรียกว่า ผู้แทนโดยชอบธรรม” ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์แบ่งออกเป็น ประเภท คือ ผู้ใช้อำนาจปกครอง กับผู้ปกครอง                                                                                                                           
                 5.คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
                       - ะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วยกรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไปสามารถดำเนินการจดทะเบียนสมรสได้ด้วยตนเอง
                        -   ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
                        -   ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
                        -   ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
                        -    ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
                        -    หญิงหม้ายจะสมรสใหม่เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่กรณี                - คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
                                - สมรสกับคู่สมรสเดิม
                                - มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์                                                                                                                                                        
                                - ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
                                - ชายหญิง ที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ตอบ เราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพราะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเราทุกคน ไม่ว่าเราจะประกอบอาชีพอะไรก็ตามเราก็ควรที่จะรู้ ที่จะศึกษารัฐธรรมนูญไว้ เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อตกลงที่บัญญัติไว้ และสามารถที่จะปฏิบัติตนเองให้อยู่ในสังคมได้ตลอดจนความสำคัญต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนไทยทุกคน นำมาซึ่งความเจริญ ความมั่นคงของประเทศชาติต่อไป

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเหตุใดที่จะต้องแก้และทำไมมีประชาชนบางกลุ่มคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกเหตุผลที่จะต้องแก้ไข

ตอบ ในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดิฉันคิดว่าไม่เห็นด้วย เพราะในการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องคิดเสมอว่าแก้แล้วจะเกิดผลอะไรขึ้น ประชาชนได้รับผลประโยชน์หรือไม่ ไม่ใช่ว่าเห็นแก้ประโยชน์ส่วนตัวหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ต้องนึกถึงประเทศชาติ เหตุผลที่มีประชาชนบางกลุ่มคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ เนื่องจากการกระทำไม่ใช่เพื่อส่วนรวม ส่วนใหญ่หวังผลประโยชน์ต่อตนเองทั้งนั้น ดังนั้นประชาชนมีสิทธิที่จะคัดค้านเป็นสิทธิส่วนบุคคล ที่จะกระทำ

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว

ตอบ ในปัจจุบันการปกครองประเทศไม่มีความมั่นคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมือง ถ้าอำนาจทั้ง อำนาจกำลังประสบปัญหาต่างๆมากมาย เกิดจากการที่ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ยึดตนเป็นใหญ่ ไม่ฟังเสียงข้างมาก ส่งผลถึงการทะเลาะวิวาทกัน จึงทำให้แบ่งพวก แบ่งสีกัน จนเกิดปัญหามากมาย ไม่ว่าด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ไม่พัฒนาเลยทั้งๆที่ประเทศเพื่อนบ้านเรากำลังพัฒนาขึ้นแต่เรากลับกลายเป็นประเทศที่แย่ลง ตามประเทศเพื่อนบ้านไม่ทัน และในอนาคตต่อไปถ้าเราไม่พัฒนาเราจะเกิดอะไรขึ้น ?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น