วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3

ให้ศึกษาเนื้อหาพระราชบัญญัติแห่งชาติแล้วตอบคำถามต่อไปนี้

1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอย่างไร จงอธิบายให้เหตุผล ตอบ  พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับรองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญให้อำนาจในการร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งกฎหมายที่มีลำดับรองจากรัฐธรรมนูญนั่นประกอบด้วยกฎหมาย 3 อย่าง คือ 1.ประมวลกฎหมาย  2.พระราชบัญญัติ  3.พระราชกำหนด ซึ่งกฎหมายสามอย่างนี้มีศักเท่าเทียมกัน                                                                                                                                                

2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
           มาตรา 7 ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมายความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภูมิใจในการเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง


3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ    มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลัก ดังนี้
            (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
            (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
            (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
            หลักการสำคัญของการศึกษาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ 3 ข้อ ซึ่งจำเป็นต้องขอขยายความดังนี้
 1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
            หลักการนี้มีความเป็นมาสืบเนื่องจากการจัดประชุมระดับโลกขององค์การยูเนสโก ธนาคารโลก และองคืการยูนิเซฟร่วมกับรัฐบาลไทย ที่หาดจอมเทียน เมื่อ พ.ศ. 2532 คำประกาศจอมเทียน ซึ่งดังกึกก้องไปทั่วโลกคือคำว่า "Education for All" ซึ่งแปลว่า "การศึกษาเพื่อปวงชน" และ "ปวงชนเพื่อการศึกษา" โดยคำว่า ปวงชน หมายถึง ประชาชนทั้งหมดในประเทศ แต่การที่จะเขียนในเชิงสำนวนเช่นนั้น อาจไม่เหมาะกับภาษาเชิงกฎหมาย จึงต้องปรับภาษาให้ง่ายต่อการแปลความตามกฎหมาย
            ฉะนั้น หลักการข้อที่ 1 จึงหมายความตามตัวอักษรว่า รัฐจะต้องจัดหรือส่งเสริมให้เอกชนและทุกๆส่วนในสังคมได้จัดการศึกษาตลอดชีวิต สำหรับประชาชน การจัดการศึกษาตลอดชีวิตจะจัดอย่างไรเป็นเรื่องของยุทธศาสตร์การจัด แต่อุดมการณ์ใหม่ของการจัดการศึกษา คือ มุ่งการจัดการศึกษาตลอดชีวิต และจะเกิดการศึกษาตลอดชีวิตได้อย่างจริงจังหรืออย่างมีประสิทธิภาพก็จะต้องมีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี ให้แก่ประชาชนเป็นเบื้องต้นก่อน หลักการศึกษาพื้นฐานจึงเป็นหลักการและกระบวนการเบื้องต้น ที่พระราชบัญญัติการศึกษาฉบับนี้เน้นเป็นพิเศษ
2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
            หลักประการที่ 2 นี้ ก็คือหลัก "All for Education" ดังที่กล่าวมาแล้ว แนวทางปฏิรูปของพระราชบัญญัติฉบับนี้ นอกจากนำเอามาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญมาพิจารณาแล้วยังกำหนดสิทธิของประชาชนที่จะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและยังวางเงื่อนไขให้องค์กรชุมชน องค์กรต่างๆ ในสังคมได้มีส่วนร่วมในการจัด ตลอดจนกำหนดแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของการสื่ิอสารเพื่อการศึกษา เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น    
3. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
            หลักประการที่ 2 ต้องการจะพูดถึงคุณภาพของการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอีกประการหนึ่งของการปฏิรูป หลักการพัฒนาสาระและกระบวนการการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยจะล้าหลังประเทศอื่น ก็เพราะเราไม่จัดระบบของเราให้เกิดการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง    
            จากการกำหนดหลักการ 3 ประการนี้จึงได้กำหนดมาตราต่างๆในพระราชบัญญัติ เพื่อวางเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงตามหลักการของมาตรา 8 และตามจุดมุ่งหมายของมาตรา 6 และ 7 ตลอดจนอนุวัตตามหลักของการจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการตามมาตรา 9 



4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบัับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ     มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
            (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
            (2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
            (3) มีการกำหนดมาตราฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
            (4) มีหลักการส่งเสริมวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
            (5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
            (6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
            หลักการ 6 ประการในมาตรา 9 เป็นหลักของการปรับระบบและโครงสร้างของการบริหารจัดการทางการศึกษาตามปฏิรูป อาจจะกล่าวได้ว่า คุณภาพ และประสิทธิภาพของการศึกษาจะต้องยืนอยู่บนเสาหลัก 4 ประการ คือ 
            1. การจัดระบบการบริหาร ให้เกิดเอกภาพทางนโยบาย แต่กระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษาโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
            2. จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในรูปแบบใหม่
            3. ส่งเสริมมาตรฐานวิชาขั้นสูง และการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง
            4. จัดระบบการจัดสรรงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
            ยุทธศาสตร์ 4 ตัวนี้ กำหนดไว้ในหลักการ 6 ประการดังกล่าวในมาตรา 9


5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ    มาตรา 10 การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการปรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
           การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
           การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตามกฎกระทรวง
           การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น
           ในวรรคแรกเขียนตามมาตรา 43 ของรํฐธรรมนูญ แต่เติมคำว่า "โอกาส" ไว้ด้วย ซึ่งเกินรัฐธรรมนูญ เพราะโอกาสจะให้มากกว่าสิทธิแต่ในมาตรานี้คำว่า "โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" ก็ยังไมาได้รับการตีความว่าหมายความว่าอย่างไร จะต้องไปให้คำจำกัดความต่อไปในขั้นปฏิบัติ
            วรรคที่สอง อาจมีความคลุมเครือในประเด็นความบกพร่องทางสังคมแต่ถ้าสามารถอธิบายได้ว่าความบกพร่องทางสังคม เช่น เกิดมาในชุมชนที่ยากจน เป็นต้น ส่วนที่ "บุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล" ก็คือผู้ที่ขาดพ่อแม่ผู้ปกครองนั่นเอง ประเด็นที่ถกเถียงกันก็คือคำ "แรกเกิด" กับ "แรกพบ" คำหลังอาจจะชัดเจนกว่า "แรกเกิด" อาจจะทำให้ทราบยากว่าใครทุพพลภาพ (ทางจิตใจ) หรือสติปัญญา จนกว่าจะมาค้นพบภายหลัง แต่การตีความกฎหมายคงต้องดูเจตนา ผู้เขียนคงต้องการเขียนให้ครอบคลุมทั้ง 2 สถานการณ์ คือ แรกเกิดในกรณีที่ทุพพลภาพทางร่างกาย "แรกพบ" ในกรณีที่ทุพพลภาพในด้านจิตใจ สติปัญญา 
             วรรคที่สามของมาตรานี้ ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหมายถึงเด็ฏที่มีสติปัญญาเลิศหรือมีความสามารถเป็นพิเศษก็จะต้องส่งเสริมเป็นพิเศษ
             มาตรา 11 บิดา มารดาหรือผู้ปกครองท่มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา 17 และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ ตามความพร้อมของครอบครัว
             มาตรา 12 นอกเหนือจากรัฐ เอกชน ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 12 นี้ คือหลักสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางที่รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และสอดคล้องกับแนวทางของยูเนสโกที่ประเทศว่า "ทุกคนเพื่อการศึกษา" และนำมากำหนดไว้ในหลักการที่ 2 ในมาตรา 8 ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมนี้ ยังได้กำหนดการสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ ตามมาตรา 13 และ 14 ดังต่อไปนี้
             มาตรา 13 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสฺทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
              (1) การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
              (2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
              (3) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
              มาตรา 14 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นวึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้
              (1) การสนับสนุนจากรัฐให้ความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ
              (2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด
              (3) การลดหย่ิอนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
              ในมาตรา 14 วรรคหนึ่งนี้ เติมคำว่า "ตามควรแก่กรณี" นั้นเพื่อแยกแยะในประเด็นที่ว่า หากผู้ใดมีส่วนจัดการศึกษาก็อาจจะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้ง 3 ข้อได้ แต่ถ้าผู้ใดมีส่วน "สนับสนุน" เช่นบริจาคทรัพย์ก็อาจได้สิทธิประโยชน์เฉพาะข้อ 3


6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   ระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไว้เพิ่มเติม (ฉบับที่2) 2545 มีการจัดระบบการศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น) และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3ปี (3 ระดับชั้น) หรือระบบ 6-3-3 
           นอกจากนั้นระบบการศึกษาไทยยังจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน  การศึกษานอกระบบโรงเรียน  และการศึกษาตามอัธยาศัย ในการจัดระบบการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะไม่พิจารณาแบ่งแยกการศึกษาในระบบโรงเรียนออกจากการศึกษานอกระบบโรงเรียน  แต่จะถือว่าการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นเพียงวิธีการเรียนการสอน หรือรูปแบบของการเรียนการสอนที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Modes of learning"  ฉะนั้น แนวทางใหม่คือสถานศึกษาสามารถจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ  และให้มีระบบเทียบโอนการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาฯ มาตรา 15  กล่าวว่าการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย คือ
           (1) การศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
           (2) การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
           (3) การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส  โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่นๆ 
           สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม  รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงานการสอน และจะส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ

การศึกษาในระบบมีสองระดับคือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
           1. การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง  การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็นสามระดับ
              1.1  การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
              1.2  การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
              1.3  การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้    
                     - การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี
                     - การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นสองประเภท ดังนี้
                    1) ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
                    2) ประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ หรือ ศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป
           2.  การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา การใช้คำว่า "อุดมศึกษา" แทนคำว่า "การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย"  ก็เพื่อจะให้ครอบคลุมการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา  ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว
                   ทั้งนี้การศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                   การศึกษาภาคบังคับนั้นต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิ์ของคนไทย ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ


7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
ตอบ   จากที่ดิฉันได้ศึกษามา ดิฉันสามารถนำแนวการจัดการศึกษา เราต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ


8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
ตอบ    มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553"

            มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
            มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
            "มาตรา 37 การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยืดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
            ให้รัฐมนตรีโโยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
            ในกรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา การกำหนดให้สถานศึกษาแห่งนั้นอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษานั้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
            ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้
            (1) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญาอารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ
            (2) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบกรือการศึกษาตามอัธยาศัย
            (3) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
            (4) การจัดการศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษา
            ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคห้าของมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545
             "ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าจะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน"
               เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ    เห็นด้วย เพราะการที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะทำให้สถานศึกษามีอิสระ มีความเข็มแข็งในการบริหาร เพื่อให้การบริหารเป็นไปอย่างคล่องตัว รวดเร็วและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนสถานศึกษาและอื่นๆอีกมากหมาย


10. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ     เห็นด้วย เพราะการที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิในการจัดการศึกษาเพื่อ พัฒนาคุณภาพและศักยภาพคนในท้องถิ่นให้มีคุณลักษณะที่สามารถบูรณาการวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และความต้องการของสังคมและประเทศชาติ ตามหลักแห่งการปกครองตนเอง ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดการ ศึกษาท้องถิ่นดังนี้
             1.เพื่อให้เด็กปฐมวัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและเตรียมความพร้อมทางร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ให้มีความพร้อมที่จะเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
             2.เพื่อให้เด็กที่มีอายุในเกณฑ์การศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนในเขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับการบริการศึกษาขั้นพื้นฐานครบตามหลักสูตรอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
             3.เพื่อพัฒนาการดำเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์เป็นไปตามมาตรฐานที่รัฐกำหนด และตรงตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น โดยมุ่งพัฒนาให้เกิดความสมดุลทั้งทางด้านปัญญา จิตใจ ร่างกาย สังคม ระดับความคิด ค่านิยม และพฤติกรรม ซึ่งเน้นวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
             4.เพื่อให้การจัดการศึกษาของท้องถิ่น ดำเนินการตามความต้องการและคำนึงถึงการมีส่วนร่วมการสนับสนุนของบุคคล ครอบครัว ชุมชน เอกชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และประชาชนในท้องถิ่น ในการจัดการศึกษาทุกระดับตามศักยภาพและความสามารถของท้องถิ่น
             5.เพื่อส่งเสริมให้เด็กเยาวชน และประชาชนในท้องถิ่นได้ออกกำลังกายและฝึกฝนกีฬา ร่วมกิจกรรมนันทนาการ และกิจกรรมพัฒนาเยาวชน เพื่อพัฒนาให้เป็นคนที่มีคุณภาพ ทั้งด้าน สติปัญญา จิตใจ และสังคม โดยมีความตระหนักในคุณค่าของการกีฬา นันทนาการ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก เยาวชน ไปในแนวทางที่ถูกต้องใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์


             6.เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการสร้างและพัฒนาอาชีพเพื่อคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ขาดโอกาสผู้พิการทุพพลภาพ ซึ่งเป็นการส่งเสริม สนับสนุนการประกอบอาชีพให้มีงานทำไม่เป็นภาระแก่สังคม
             7.เพื่อบำรุงการศาสนาและอนุรักษ์ บำรุงรักษาศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ความเป็นไทย  


11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ     หมวด 2 หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 
             ข้อ 3 ให้สถานศึกษาจัดโครงสร้างการบริหารที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
             ข้อ 4 ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
                       (1) กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif   (2) กำกับ ติดตาม และให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
                       (3) เสนอสถานศึกษาแต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่ตรวจสอบ ทบทวน และรายงานคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
              ข้อ 5 ให้สถานศึกษาจัดระบบสารสนเทศที่มีข้อมูลอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา     
              ข้อ 6 ให้สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษาที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน สถานศึกษา ท้องถิ่นและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐา
              ข้อ 7 ให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงหลักและครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้
                        (1) เป็นแผนที่ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพ ปัญหา และความจำเป็นอย่างเป็นระบบ และมีแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับ
                        (2) กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และสภาพความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม
                        (3) กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชา หรือผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
                        (4) กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
                        (5) กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคนรวมทั้งผู้เรียนรับผิดชอบ และดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
                        (6) กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
                        (7) กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
              ข้อ 8 ให้สถานศึกษาดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif     ข้อ 9 ให้คณะบุคคลตาม ข้อ 4 (3) ดำเนินการตรวจสอบ ทบทวน และรายงานการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
              ในการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ให้ใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม โดยให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา 
              ข้อ 10 ให้สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนทุกคนในทุกระดับช่วงชั้นที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลักและคุณลักษณะที่สำคัญด้วยกระบวนการและวิธีการที่ได้มาตรฐาน
              ข้อ 11 ให้สถานศึกษาจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี โดยระบุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา พร้อมหลักฐานข้อมูลและผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ตาม ข้อ 10 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน
              ข้อ 12 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งเสริม สนับสนุน และร่วมดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 


12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ    เห็นด้วย เพราะการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพนั้น เพราะใบประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา เป็นวิชาชีพควบคุม ผุ้ประกอบวิชาชีพควบคุม ที่จัดการศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาที่ตำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชนจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา จึงจะมีสิทธิประกอบวิชาชีพได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพ และเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น นอกจากนี้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะได้รับเงินเดือน เงินวิทยาฐานะตาม พรบ.เงินเดือน เงินวิทยาฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ด้วย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพนั้นๆ



13.  ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไร
ตอบ   ดิฉันคิดว่าแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่น จะต้องยึดหลักการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่ว่า เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และพัฒนาสาระกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในหมวด 8 มาตรา 58 ได้กำหนด ไว้ว่าให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณการเงิน และทรัพย์สิน ทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น 


14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ    ดิฉันมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาคือ ให้มีการพัฒนาบุคลากรและผู้ใช้เทคโนโลยี เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและทักษะ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพด้วย และสนับสนุนจัดให้มีแบบเรียน ตำรา วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นอย่างเร่งรัด พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต มีเงินสนับสนุน เปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีภาพและเป็นธรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น